ทำไมประเทศสิงคโปร์จึงได้ให้ความสำคัญกับคณิตศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการประเทศสิงคโปร์ได้กล่าวไว้ว่า “ การเรียนคณิตศาสตร์เป็นสื่อกลางที่ดีที่สุดที่ช่วยสร้างให้มีกระบวนการคิดบนหลักการที่ถูกต้อง เชื่อมโยงความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ และ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ต้องให้ทักษะเหล่านี้ตัดตัวไปกับนักเรียนของเรา เพื่อให้เขานำสิ่งนี้มาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพและเรียนรู้ตลอดเวลา ”
ประวัติการพัฒนาการศึกษาของประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เป็นเกาะเล็กๆ ในกลุ่มอาเซียน ที่ไม่ได้มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่มากมาย แต่เมืองนี้กลับมีรายได้ต่อประชากรอยู่ในกลุ่มท็อป 10 ของโลก เป็นแหล่งด้านการเงิน ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีสถานที่ท่องเทียวและสนามบินที่ดีที่สุดในโลกดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทั้งหมดนี้ได้ถูกพัฒนาเพียงไม่กี่สิบปี อะไรคือจุดเปลี่ยนของการพัฒนาประเทศนี้?
หากมองย้อนไปตั้งแต่ก่อนปี 1970 ระดับการศึกษาของประเทศนี้ยังไม่ได้พัฒนามากนักซึ่งยังอยู่ระดับเดียวกันประเทศไทยหรือประเทศฟิลิปินส์ แต่ในปี 1990 ได้เริ่มพัฒนาอย่างโดดเด่นจนอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และฮ่องกง
ทั้งนี้วิธีการเรียนคณิตศาสตร์แบบสิงคโปร์ได้เริ่มต้นจริงๆ เมื่อปี 1980 ซึ่งทางกระทรวงศึกษาสิงคโปร์ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development Institute of Singapore (CDIS) และได้เริ่มศึกษางานวิจัยต่างๆ จากทั่วโลก และหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพัฒนาการศึกษาภายในประเทศ
จากผลการศึกษาได้คำตอบที่ชัดเจนว่าการพัฒนาหลักสูตรจะต้องให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์ที่ไม่ใช่แค่การท่องจำ หรือฝึกทำตามขั้นตอน แต่ต้องเป็นการเรียนเพื่อให้สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้
เมื่อปี 1982 ทางกระทรวงศึกษาธิการจึงได้เริ่มจัดทำหนังสือ Singapore Math ในระดับประถมศึกษาขึ้นมาซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลทั้งหมดโดย CDIS เป็นผู้เขียนขึ้นเป็นโครงการเพื่อทำการวิจัยพัฒนาหลักสูตร
จากนั้นปี 1992 จึงได้เริ่มใช้หลักสูตรใหม่ที่เน้นการแก้โจทย์ปัญหา และเริ่มใช้กับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และอีก 5 ต่อ ในปี 1997 มาได้ออกแบบแนวทางการสอนเพื่อสร้างกระบวนการคิดและได้นำหลักนี้ไปประยุกต์ใช้กับทุกรายวิชา และได้พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างบุคคลากรที่คุณภาพ
ในช่วงปี 2004 ได้กำหนดทิศทางการสอนให้น้อยลงให้เวลากับการเรียนรู้มากขึ้น (Teach Less Learn More) เพื่อให้นักเรียนสามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเองมากขึ้นโดยที่คุณครูไม่ต้องสอนทุกขั้นตอนทั้งหมด และในปี 2012 ได้พัฒนาปัจจัยรอบด้านทั้งโรงเรียน ครู ผู้ปกคอรง ซึ่งมีส่วนผลักดันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวนักเรียนให้มากที่สุด
1980 —MOE study on: “How to make everyone learn at high level?”
1982 — Introduction of Singapore Mathematics textbooks
1992 — Introduction of Problem-Solving Curriculum & Framework
1997 — Thinking Schools Learning Nation
2004 — Teach Less Learn More
2012 —Student-Centric, Values-Driven
“ ในวันนี้เรายังคงไม่รู้ว่างานข้างหน้าจะอยู่ในรูปแบบไหน อุตสาหกรรมต่างสร้างตำแหน่งใหม่ และงานบริหารจัดการใหม่ขึ้นมา …. วันนี้เราจำเป็นต้องสนับสนุนด้านความฉลาดสร้างสรรค์และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เด็กของเราสามารถเจริญเติบโตได้ในอนาคตที่เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร ” รัฐมนตรีศึกษาฯสิงคโปร์, 2018 APAIE Education Conference
ความสำเร็จของคณิตศาสตร์สิงคโปร์ (Singapore Math)
ในระดับนานาชาติได้มีโครงการศึกษาและประเมินผลและจัดอันดับประสิทธิผลทางการเรียนคณิตศาสตร์ ประเทศสิงคโปร์จัดอยู่ในระดับสูงสุดของโลกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ (Trends in International Mathematics and Science Study; TIMSS) หรือ โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment; PISA)
TIMSS 2015
ระดับการศึกษาที่ประเมิน: ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Grade 4) และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (Grade 8)
สิ่งที่ประเมิน: ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยประเมินจากหลักสูตรและการสอน
ผลประเมิน: ประเทศสิงคโปร์อยู่ในระดับสูงสุดมาตั้งแต่ปี 1995 นักเรียนในระดับ Advance มีมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติมีเพียง 6% ทั้งนี้นักเรียนจะมีทักษะการแก้ปัญหาในระดับสูงและอธิบายถึงขั้นตอนหาคำตอบได้อย่างชัดเจน
PISA 2015
ระดับการศึกษาที่ประเมิน: ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Grade 9)
สิ่งที่ประเมิน: ทักษะความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และการอ่าน โดยในวิชาคณิตศาสตร์จะเน้นในส่วนของการแก้ปัญหาจากนำพื้นฐานความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานะการต่างๆ ในชีวิตจริง
ผลประเมิน: ประเทศสิงคโปร์อยู่ในระดับสูงสุดมาตั้งแต่ปี 2009 พบว่า 38.4% ของนักเรียนจัดอยู่ในระดับ 5 และ 6 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติอยู่ที่ 10.8% ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้จะมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดีมาก สามารถนำความรู้และทักษะไปวิเคราะห์ถูกต้องมีเหตุผลรองรับ และอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาได้
Comments